ขนมไทยในสมัยอยุธยา



สมัยอยุธยา

       คนไทยสมัยโบราณจะได้กินขนมก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่ใช้เลี้ยงแขกในงานขุดสระน้ำ เป็นขนมไทยที่กินกับน้ำกะทิ คือ "ขนมสี่ถ้วย" หมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) บัวลอย (ข้าวตอก) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) และได้กลายเป็นประเพณีเลี้ยงขนมชื่อว่า "ประเพณี 4 ถ้วย"นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา       เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ
          แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า"       "ท้าวทองกีบม้า" หรือ "มารี กีมาร์" เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ "ฟานิก (Phanick)" เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ "อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)" ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก ชีวิตช่วงหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า "มารี กีมาร์" หรือ "ท้าวทองกีบม้า" จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ "ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทยขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯแต่เดิมขนมเหล่านี้ เป็นของชาติโปตุเกตุ เมื่อผ่านกาลเวลาผสมผสานกับความคิด ช่างประดิดประดอยของหญิงไทย ก็ทำให้ขนมเหล่านี้ ปรับเปลี่ยนเป็นขนมไทย ๆ ในเวลาต่อมา

ขนมไทยในสมัยอยุธยา

ขนมสี่ถ้วย
ในสมัยอยุธยาเป็นขนมสี่ถ้วย ประกอบด้วย ไข่กบ นกปล่อย นางลอย อ้ายตื้อ นิยมรับประทานกันในงานมงคลและงานแต่งงาน เนื่องจากมีความหมายที่ดีงามสมบูรณ์                                                ไข่กบ คือ เม็ดแมงลัก หมายถึง มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง
นกปล่อย คือ ลอดช่องไทย  หมายถึงมีความรักลื่นไหล ไม่มีอุปสรรค
นางลอย ได้แก่ ข้าวตอก สื่อถึงมีความรักอยู่ในกรอบประเพณีดีงามเหมือนการคั่วข้าวตอกที่ไม่กระเด็นออกจากครอก
ส่วนอ้ายตื้อ นั้นคือ ข้าวเหนียวดำ ตัวแทนรักหนักแน่นเหมือนข้าวเหนียวดำตอนนึ่งใหม่ๆ
รับประทานกับกะทิให้ความหวานชื่น  น้ำกะทิไปเคี่ยวกับน้ำตาลมะพร้าว ใบเตย  ตัดรสด้วยเกลือ นำไปอบควันเทียนให้หอม





ฝอยทอง
        ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos) เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทองทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง   กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก  โดยมีกำเนิดจาก      เมืองอาไวโร่ (โปรตุเกส: Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส





ทองม้วน
         เป็นขนมไทยแต่โบราณมีประวัติที่ยาวนานพอสมควร เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน ซึ่งส่วนมากขนมต่างๆมากมาย รวมทั้ง "ทองม้วน" ต่างมีต้นกำเนิดจากการรับเอาวัฒนธรรมของประเทศ โปรตุเกส มาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง




ทองหยิบ
             ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป



ทองหยอด
         ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่นปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกส กินกับเนื้อย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือ เคล็ดกันอยู่จึงใช้ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม






ขนมผิง
            ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส โดยหญิงสาวที่มีชื่อว่า มารี กีมาร์ หรือท้าวทองกีบม้า ลูกครึ่ง โปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอลที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในแผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนักนางมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับเธอและสาวๆเหล่านั้นก็ได้นำสูตรขนมออกมาถ่ายทอดต่อไป




ข้าวเหนียวสังขยา
            ข้าวเหนียวสังขยา เมนูขนมไทยแสนอร่อย ที่หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี เป็นที่ชื่นชอบของหลายท่านด้วย เมนูนี้ได้นำเอาเมนูสองเมนูมาเสิร์ฟ รับประทานด้วยกันคือ ข้าวเหนียวมูนกับสังขยาไข่ ซึ่งเมื่อนำมารับประทานคู่กันแล้ว ยิ่งเพิ่มรสชาติความหอมหวาน มันอร่อยยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ข้าวเหนียวมูนสามารถเสิร์ฟ รับประทานกับขนมไทยและผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด และอร่อยเข้ากันได้เป็นอย่างดี





ขนมหม้อแกง
          ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น










ความคิดเห็น